ธาตุอาหารเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืชมีบทบาทสำคัญต่อขบวนการสังเคราะห์แสงทำให้เอนไซม์ทำงานได้ตามปกติและเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในขบวนการเมตาโบลิซึมขบวนการที่เซลล์หรือจุลินทรีย์ใช้สารอาหารมาเสริมสร้างการดำรงชีวิตและส่วนประกอบของโครงสร้างหรือไปแตกตัวสารต่างๆของเซลล์ให้อยู่ในรูปที่มีหน้าที่เฉพาะ
ธาตุอาหารพืชแบ่งเป็นธาตุอาหารหลักธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมซึ่งธาตุอาหารในแต่ละกลุ่มจะมีหน้าที่สำคัญแตกต่างกันออกไปดังนี้
1.1 ธาตุอาหารหลักมีหน้าที่สำคัญคือ
1) ธาตุไนโตรเจน ( N ) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโนโปรตีนนิวคลีโอไทด์และคลอโรฟีลซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้มีความสำคัญต่อขบวนการเมตาโบลิซึมของพืช
2) ธาตุฟอสฟอรัส ( P ) มีหน้าที่เกี่ยวกับการถ่ายเทพลังงานซึ่งเป็นขบวนการทางสรีรวิทยาที่สำคัญอย่างยิ่ง
3) ธาตุโพแทสเซียม ( K ) มีความจำเป็นต่อการเคลื่อนที่ของธาตุอาหารและสารบางชนิดในพืชควบคุมการเปิด-ปิดของปากใบและเป็นธาตุที่กระตุ้นให้เอ็มไซม์ทำงาน
1.2 ธาตุอาหารรองมีหน้าที่สำคัญคือ
1) ธาตุกำมะถัน ( S ) มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างโปรตีนและเป็นส่วนประกอบของกรดอะมิโนบางชนิดโปรตีนและโคเอ็มไซม์อีกด้วย
. 2) ธาตุแคลเซียม ( Ca ) มีหน้าที่เกี่ยวกับความแข็งแรงของเนื้อเยื่อพืชและเป็นธาตุที่กระตุ้นให้เอ็มไซม์บางชนิดทำงาน
3) ธาตุแมกนีเซียม ( Mg ) มีหน้าที่ในการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นประโยชน์และเป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์นอกจากนั้นยังเป็นตัวกระตุ้นให้เอ็มไซม์ทำงานเช่นเดียวกับแคลเซียม
1.3 ธาตุอาหารเสริมมีหน้าที่สำคัญคือ
1) ธาตุเหล็ก ( F e) เป็นส่วนประกอบของเหล็กพอไฟรีนและเฟอริด๊อกซินซึ่งเป็นสารที่สำคัญในขบวนการถ่ายเทอิเล็กตรอนของพืช
2) ธาตุแมงกานีส ( Mn ) มีหน้าที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นและรีดัคชั่นในขบวนการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนและเป็นตัวกระตุ้นให้เอ็มไซม์ทำงาน
3) ธาตุสังกะสี ( Zn ) มีหน้าที่เกี่ยวกับขบวนการเมตาโบลิซึมของอ๊อกซินซึ่งเป็นสารที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชธาตุสังกะสียังมีหน้าที่ในการสร้างนิวคลีโอไทด์และเป็นส่วนประกอบของเอ็มไซม์ดีไฮโดจีเนสอีกด้วย
4) ธาตุทองแดง ( Cu ) มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างสารลิกนินและเป็นส่วนประกอบของเอ็มไซม์ ascobic acid oxidase
5) ธาตุโบรอน ( B ) มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างการใช้และการเคลื่อนย้ายนิวคลีโอไทด์ซึ่งเป็นสารที่สำคัญมากในขบวนการต่างๆทางสรีรวิทยาของพืชเช่นขบวนการที่ก่อให้เกิดพลังงาน
6) ธาตุโมลิบดีนัม ( Mo ) มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างโปรตีนในพืชชนิดต่างๆและการตรึงไนโตรเจนจากอากาศของพืชตระกูลถั่วโดยเป็นส่วนประกอบของเอ็มไซม์ไนเตรทรีดัคเตสและไนโตรจีเนส
7) ธาตุคลอรีน ( Cl ) มีหน้าที่ช่วยให้ประจุไฟฟ้าในเซลล์พืชเป็นกลางและเซลล์มีความเต่งน้ำ
2. ลักษณะการขาดธาตุอาหารของพืช
ลักษณะการขาดธาตุอาหารของพืชเป็นผลจากการที่พืชมีขบวนการเมตาโบลิซึมที่ผิดปกติลักษณะอาการที่พืชแสดงให้เห็นนั้นอาจชัดเจนบ้างหรือไม่ชัดเจนบ้างขึ้นอยู่กับความต้องการธาตุอาหารของพืชแต่ละชนิดและปริมาณของธาตุอาหารที่พืชสามารถนาไปใช้ได้การที่ธาตุอาหารของพืชมีปริมาณไม่เพียงพอหรือไม่สามารถทาหน้าที่ได้เนื่องจากถูกจากัดด้วยปัจจัยหลายประการซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับลักษณะการขาดธาตุอาหารของพืชถ้าพืชขาดแคลนธาตุอาหารอย่างมากพืชจะแสดงอาการออกมาให้เห็นชัดเจนแต่ถ้าพืชขาดแคลนธาตุอาหารปานกลางอาการที่แสดงออกมาอาจเห็นไม่ชัดเจนจึงจาเป็นต้องอาศัยความรู้เรื่องบทบาทของธาตุอาหารมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเพื่อจะได้ตัดสินได้ว่าพืชขาดธาตุอะไร
2.1. ลักษณะการขาดธาตุอาหารหลัก
1) ขาดธาตุไนโตรเจนพืชจะเจริญเติบโตช้าเนื่องจากขบวนการสร้างโปรตีนของพืชผิดปกติใบแก่ของพืชมีสีเหลืองเพราะคลอโรฟิลลดลงต่อมาใบแห้งและร่วง
2) ขาดธาตุฟอสฟอรัสต้นพืชมีขนาดเล็กลงกว่าปกติใบและต้นพืชอาจกลายเป็นสีเขียวจัดจนถึงสีม่วงเนื่องจากมีการสะสมคาร์โบไฮเดรต (แป้ง) มากเกินไป
3) ขาดธาตุโพแทสเซียมต้นพืชแคระแกรนและมีสีเขียวซีดใบแก่อาจมีจุดแห้งตายหรือขอบใบแห้งใบอ่อนจะมีจุดประสีแดงหรือเหลืองระหว่างเส้นใบผิวใบเป็นมันเลื่อมกว่าปกติ
2.2 ลักษณะการขาดธาตุอาหารรอง
1) ขาดธาตุกามะถันต้นพืชมีการเจริญเติบโตช้าลงเหลืองทั้งต้นซึ่งมักจะเกิดกับใบอ่อนก่อนใบอ่อนอาจจะมีสีเหลืองบริเวณระหว่างเส้นกลางใบในขณะที่เส้นกลางใบยังเขียวเป็นปกติ
2) ขาดธาตุแคลเซียมพืชมีลาต้นแคระแกรนใบอ่อนมีสีเหลืองซีดไม่มีขอบใบทาให้ใบลีบยอดไม่เจริญเนื้อเยื่อใหม่มีสีเขียวอ่อนและคดงอระบบรากไม่ดีรากสั้นหนา
3) ขาดธาตุแมกนีเซียมใบแก่มีสีเหลืองโดยขอบใบและบริเวณระหว่างเส้นใบมีสีเหลืองเห็นได้ชัดเจนอาจมีสีแดงเกิดตามแถบสีเหลืองบนใบด้วยถ้าพืชขาดธาตุแมกนีเซียมอย่างรุนแรงใบแก่ที่อยู่ตอนล่างของต้นจะตายใบ
2.3 ลักษณะการขาดธาตุอาหารเสริม
1) ขาดธาตุเหล็กใบสีเหลืองซีดโดยจะเกิดที่ใบอ่อนก่อนโดยที่เส้นใบยังคงเขียวอยู่ในขณะที่พื้นที่ระว่างเส้นใบมีสีเหลืองทาให้เกิดลวดลายของเส้นใบอย่างชัดเจนใบหนาเล็กและหยาบกระด้าง
2) ขาดธาตุแมงกานีสเกิดสีเหลืองระหว่างเส้นใบและพืชมีลำต้นแคระแกรนเมื่อเกิดอาการขาดอย่างรุนแรงจะเกิดบริเวณแห้งตายเป็นจุดๆหรือเป็นแถบ
3) ขาดธาตุสังกะสีลักษณะอาการขาดธาตุสังกะสีจะปรากฏให้เห็นชัดเจนใบพืชบางชนิดโดยทั่วไปที่ใบอ่อนจะเกิดอาการเหลืองระหว่าเส้นใบใบอ่อนมีขนาดเล็กมากบางครั้งไม่มีตัวใบเลยข้อสั้นมีลักษณะพุ่มเตี้ย
4) ขาดธาตุทองแดงจะปรากฏที่ยอดอ่อนใบอ่อนจะมีสีเหลืองและตายไปพืชผักที่ขาดธาตุทองแดงใบจะแห้งม้วนและไม่เต่งน้ำสาหรับในไม้ผลการผสมเกสรและการติดผลจะน้อยลง
5) ขาดธาตุโบรอนบริเวณที่กาลังเจริญจะตายตาอ่อนที่เพิ่งเกิดจะแตกเป็นกระจุกทำให้ยอดออกมาเป็นฝอยใบอ่อนจะหนาเป็นมันเกิดสีเหลืองบริเวณต้นก้านใบและก้านดอกอ่อนจะมีรอยแตกเป็นสีสนิมผลไม้แสดงอาการผิวแตก
6) ขาดธาตุโมลิบดีนัมใบสีเขียวซีดถึงเหลืองเจริญเติบโตช้าหรือใบอาจจะมีสีซีดและมีจุดสีน้ำตาลบนใบใบแก่ขอบใบจะไหม้
7) ขาดธาตุทองแดงพืชที่ขาดธาตุทองแดงอย่างรุนแรงจะมีสีเหลืองและแห้งตายบนบริเวณใบปลายใบจะเหี่ยวและตายในเวลาต่อมาการเจริญเติบโตของรากถูกจำกัด
3. การมีธาตุอาหารมากเกินไป
ธาตุอาหารที่พืชมีความต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้นอาจเกิดการสะสมทาให้เกิดความเข้มข้นในเนื้อเยื่อพืชสูงขึ้นจนถึงขั้นเป็นพิษกับพืชเช่นการมีธาตุโบรอนมากเกินไปทำให้พืชเกิดอาการใบเหลืองขึ้นเป็นแห่งๆเนื่องจากขาดคลอโรฟิลล์เริ่มจากปลายใบแล้วจึงลุกลามไปตามขอบใบเกิดการไหม้และใบร่วงหล่นเป็นต้น